วงล้อสีสำหรับออกแบบ Color & Tone schemes
฿190.00
วงล้อสีสำหรับออกแบบ Color & Tone schemes
- วงล้อสีช่วยเทียบคู่สีหรือหาโทนสีที่เข้ากัน ช่วยให้เข้าใจทฤษฎีสี
- เป็นตัวช่วยในการเลือกสี เช่น การเลือกคู่สีตรงข้าม เลือกสีที่มีความกลมกลืนกัน เลือกสีที่คล้ายคลึงกัน
- ช่วยหาโทนสีที่เข้ากัน ทำให้การเลือกสีงานออกแบบต่าง ๆ ง่ายขึ้น
วงล้อสีสำหรับออกแบบ ใน 1 ชุด มี 2 ด้าน คือด้านสีโทนเข้ม (ผสมเทา-ดำ) และด้านสีโทนอ่อน (ผสมขาว)
มีสินค้าอยู่ 10
คำอธิบาย
วงล้อสีสำหรับออกแบบ Color & Tone schemes
รายละเอียดสินค้า: วงล้อสีสำหรับออกแบบ ใน 1 ชุด มี 2 ด้าน คือด้านสีโทนเข้ม (ผสมเทา-ดำ) และด้านสีโทนอ่อน (ผสมขาว)
ขนาดสินค้า : 23 x 23 cm
ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ : 23 x 28 cm
น้ำหนักสินค้า : 20 กรัม
น้ำหนักสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ : 30 กรัม
คุณสมบัติ: ช่วยให้เข้าใจทฤษฎีสี เป็นตัวช่วยในการเลือกสี เช่น การเลือกคู่สีตรงข้าม (Contrast) การเลือกสีที่มีความกลมกลืนกัน การเลือกสีที่คล้ายคลึงกัน (Harmony)
วงล้อสีจะช่วยให้หาโทนสีที่เข้ากัน ทำให้การเลือกสีสำหรับงานออกแบบต่างๆ ง่ายขึ้น เช่น การหาโทนสีผ้าที่เข้ากันเพื่อทำงานควิลท์ หรืองานตัดเย็บ
ความหมายในวงล้อสี
สีโทนร้อน: แดง ส้ม และเหลือง
สีโทนเย็น: เขียว น้ำเงิน และม่วง
นอกจากนี้ ในวงล้อสี ยังแสดงค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สี อาทิ
Hue: ค่าสีที่เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสีนั้นๆ เป็นการแบ่งสีอย่างกว้าง คือสีพื้นในระดับปกติ เป็นเนื้อสีแท้ๆ ไม่มีการเติมสีอื่นเข้าไปผสม เช่น สีแดง สีน้ำเงิน หรือสีเขียว ช่วยให้เราสามารถแยกแยะสีหนึ่งออกจากสีหนึ่งได้เพียงแค่เรามอง ซึ่งสีต่างๆ นั้นเกิดขึ้นจากความยาวคลื่นของแสงที่สะท้อนสู่ตาเรา ส่วนสีอย่าง ขาว เทา และดำ จะจัดเป็น Achromatic colour ซึ่งไม่นับว่าเป็น Hue
Tint: ทินต์สี คือการนำ Hue มาเติมสีขาวลงไป ให้สีมีความอ่อนลงและสว่างมากยิ่งขึ้น โดยที่ยังคงเนื้อสีเดิมไว้ เสมือนการปรับเพิ่ม brightness
Shade: เฉดสี เป็นการนำสีต่างๆ ของ Hue มาเติมสีดำลงไปให้มีสีที่ทึบลง ซึ่งเหมือนกับการลดค่า brightness ทำให้สีมีความเข้มขึ้น ทึบขึ้น เช่น จากสีเขียวกลายเป็นสีเขียวแก่ เป็นสีที่เรามักเห็นบนเงาที่อยู่บนวัตถุหรือฉากหลังต่างๆ
Tone: โทนสี จะคล้ายกับเฉดสีมาก เพียงแต่จะนำสี Hue มาเติมสีเทา ทำให้มีสีหม่นลง แต่มีความนุ่มนวลมากขึ้น มีความหมายเหมือนกับการลด saturation
วิธีการใช้ : ช่วยเลือกโทนสีที่เข้ากันตามทฤษฎีสี โดยดูจากลูกศรในช่องสามเหลี่ยมสามารถเลือกสีได้ดังนี้
- สีคู่ตรงข้าม โดยเลือกสีที่ลูกศรชี้ตรงกันข้ามกัน เช่น แดง-เขียว
- การเลือกสีหลัก 1 สีร่วมกับสีอีก 2 สีที่อยู่อีกมุมของสามเหลี่ยมรูปเล็ก เช่น เหลือง-น้ำเงินปนม่วง-แดงปนม่วง
- การเลือกสีหลัก 1 สี ร่วมกับสีรองที่เว้นระยะเท่ากันบนวงล้อ โดยดูจากสามเหลี่ยมรูปใหญ่ เช่น เหลือง-น้ำเงิน-แดง
- การเลือกใช้สีโทนเดียว เช่น การใช้สีเขียวที่อยู่ในช่องเดียวกันทั้งหมด
- การเลือกใช้สีคล้ายกัน โดยเลือกใช้สีที่อยู่เรียงติดกัน 3 – 5 เฉดสี เช่น แดงม่วง-ม่วงแดง-แดง, ส้มเหลือง-เหลือง-เขียวเหลือง-เหลืองเขียว-เขียว
- เลือกสีที่อยู่ติดกันในวงล้อ 3 สีร่วมกับสีที่อยู่อีกด้านของสามเหลี่ยม โดยดูที่สามเหลี่ยมรูปเล็ก เช่น เขียว-น้ำเงินเขียว-เขียวน้ำเงิน-ส้มแดง
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก | 20 กก. |
---|---|
ขนาด | 23 × 23 เซนติเมตร |